ปลาทู






ภาพที่ 1 ปลาทู

(ที่มา : https://tiewpakklang.com/6754)

ความเป็นมาของปลาทู
          ปลาทูเป็นปลาทะเล มีชื่อสามัญว่า Indo-Pacific Chub Mackerel มักจะอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ๆ น้ำทะเลลึกไม่เกิน 30 เมตร และมีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 17 องศาเซลเซียส จึงทำให้สามารถพบฝูงปลาทูได้ในเฉพาะบางที่ โดยในอ่าวพบเป็นแหล่งที่พบปลาทูมากที่สุด เพราะมีภูมิอากาศที่ดีพร้อมทั้งมีแหล่งอาหารที่สมบูรณ์ เหมาะแก่การอยู่อาศัยและวางไข่ของฝูงปลาทู ทำให้ปลาทูมีรสชาติอร่อยเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั้งภายในและภายนอก
            จากการบันทึกของหมอบลัดเลย์ ที่แสดงว่า คนไทยเริ่มรู้จักปลาทูตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เดิมชาวไทยใช้โป๊ะเป็นเครื่องมือจับปลา ปี .. 2468 ไทยนำเรืออวนตังเกจากจีนเข้ามาใช้แทนโป๊ะ ซึ่งเป็นเครื่องมือประมงชนิดเคลื่อนที่ สามารถจับปลา ได้มากกว่าโป๊ะ ในขณะที่การบริโภคปลาทู ยังอยู่ในวงจำกัด ส่วนใหญ่เป็นคนพื้นบ้าน แถบชายทะเลดังนั้นจึงมีการแปรรูปปลาทูเป็นปลาทูเค็มส่งเป็นสินค้าออกต่างประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง ฯลฯ ทำรายได้ให้แก่ประเทศเป็นจำนวนมากในขณะนั้น ต่อมาการคมนาคมเจริญขึ้น เทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น ปลาทูสดถูกส่งไปยังต่างจังหวัด ต่างๆ มากขึ้น ทำให้ผู้คนรู้จักปลาทู อย่างแพร่หลาย ซึ่งสามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายประเภท เช่น นำไปนึ่ง ทอด ต้ม แกง เป็นต้น นอกจากนี้ปลาทูยังมีราคาถูก รสอร่อยอีกด้วย ทั้งนี้ปลาทูจะมีรสอร่อยขึ้นอยู่กับ ความสดของปลาทู ซึ่งหลายคนไม่ทราบว่า จะเลือกปลาทูแบบไหนถึงจะอร่อย ดังนั้น การเลือกปลาทูว่าสดหรือไม่สด ให้สังเกต ลักษณะของปลาจะมีลูกตานูนดำมีสีสดใส ส่วนหลังของลำตัวจะมีสีเขียวเป็นพื้น ส่วนท้องมีสีขาวหรือสีน้ำเงิน หางปลายังมีสีเหลือง ตามลำตัวเป็นเมือกลื่นๆจับ เหงือกมีสีแดงอมชมพู ปลาไม่มีกลิ่นเนื้อแน่น จะเห็นได้ว่าปลาทูมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมการกินขอวงชาวไทยมาช้านานนับตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบันเดิมจำกัดในวงแคบๆ ได้แก่   ชนพื้นเมือง แถบชายทะเล ต่อมาขยายเป็นวงกว้างจนปลาทูเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายทั้งชนพื้นเมืองที่ห่างไกลจากทะเลและประเทศใกล้เคียง ซึ่งต่างก็นิยมรับประทานปลาทู  (ณัฐกร นวลสุวรรณ, 2551)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิธีการจับปลาทู

ลักษณะของปลาทู

การแปรรูปปลาทู