การแปรรูปปลาทู



          การแปรรูปปลาทูเพื่อเก็บรักษาไว้ให้นานและเพื่อเพิ่มรสชาติของปลา 

1. ปลาทูนึ่ง

       ซึ่งในประเทศไทย หากเรียกให้ถูกตามวิธีการน่าจะเรียกว่า ปลาทูต้ม เพราะปลาทูนึ่งในเข่งที่วางขายตามท้องตลาดจะมาจากการนำปลาทูจัดเรียงใส่เข่ง แล้วนำมาต้มในน้ำร้อนที่ผสมเกลือเล็กน้อย เพราะวิธีนี้ทำให้ประหยัดต้นทุน เชื้อเพลิง และเวลาได้มากกว่าวิธีการนำมานึ่งผ่านไอน้ำ โดยมีวิธีการ ดังนี้
          1.ควักเหงือกและไส้ออก
          2.แช่ปลาในน้ำเกลืออิ่มตัวนาน30 นาที
          3. เรียงปลาใส่เข่งปลาทูตามขนาดที่ใส่ได้
          4. จัดเรียงเข่งปลาทูในตะแกรงใหญ่สำหรับลงต้ม
          5. นำตะแกรงที่ใส่เข่งปลาทูลงต้มในน้ำเกลือ นาน 10 นาที
          6. นำตะแกรงเข่งปลาทูขึ้นมาตั้งไว้ให้เย็น หลังจากนั้น พรมด้วยน้ำเกลือในเข่งปลาทูเล็กน้อยก่อนนำส่งจำหน่าย
          การนึ่งปลาทูในขั้นตอนข้างต้นจะเก็บรักษาปลาทูได้ประมาณ 2 วัน สำหรับการขนส่งในระยะทางไม่เกิน 1-2 วัน แต่หากระยะทางไกลควรต้มให้นานมากขึ้น
         ลักษณะของปลาทูนึ่งที่ดี
          1. นัยน์ตาต้องไม่ลึก
          2. เนื้อต้องไม่แข็งหรือนิ่มเกินไป หากใช้นิ้วกดจะรู้สึกตึงแน่น
          3. ด้านท้องต้องไม่ยุบหรือฉีกแตก
          4. หนังปลาต้องไม่เปื่อยยุ่ย และยังคงสีน้ำเงินแกมขาว


ภาพที่ 6 ปลาทูนึ่ง
(ที่มา : http://alangcity.blogspot.com/2012/08/blog-post_5312.html)
2. ปลาทูเค็ม
          การทำปลาทูเค็มในประเทศไทยนั้นจะใช้วิธีการแช่ปลาทูในน้ำเกลือเพื่อให้น้ำเกลือซึมเข้าเนื้อปลาทำให้ปลาสามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน และช่วยเพิ่มรสให้กับเนื้อปลา ซึ่งส่วนมากจะเป็นปลาทู และปลาลัง ที่นิยมนำมาทำเป็นปลาทูเค็ม ส่วนเกลือที่ใช้มักเป็นเกลือทะเล (เกลือสมุทร) เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากแหล่งประมงปลาทูติดกับทะเล แต่อาจพบการใช้เกลือสินเธาว์บ้างในบางพื้นที่ที่ขาดแคลน
วิธีทำปลาทูเค็ม

          1. ควักเงือก และไส้ออก พร้อมนำไปล้างน้ำให้สะอาด
          2. นำปลาทูมาแช่ในน้ำเกลือที่ละลายเกลือจนอิ่มตัว ประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อล้างเอาเลือด และกลิ่นคาวปลาออก
          3. นำปลาทูที่แช่น้ำเกลือแล้วมาหมักกับเกลือเม็ดในถังไม้หรือถังพลาสติก โดยเรียงปลาเป็นชั้นๆสลับกับโรยเกลือเม็ดทั่วตัวปลา ซึ่งชั้นบน และชั้นล่างสุดจะโรยเกลือทับ
          4. ปิดฝาภาชนะให้สนิท และหมักปลานาน 3-5 วัน
          5. นำปลามาล้างน้ำเกลือ แล้วนำไปผึ่งแดด 2-3 วัน ก็สามารถนำมารับประทานหรือจำหน่ายได้ 



ภาพที่ 7 ปลาทูเค็ม
(ที่มา : http://www.thaitechno.net/t1/productdetails.php?id=88058&uid=41942)
3. ปลาทูแดดเดียว
อุปกรณ์ : ปลาทู 20 กก.  เกลือแกง 0.7 กก.  กะละมัง  ตะแกรง  มีด  ตะแกรงตากปลา  น้ำสะอาด
วิธีการทำ
          1. นำปลาทูมาผ่าหลัง เอาไส้ออกแล้วล้างให้สะอาด
          2. นำปลามาคลุกกับเกลือในกะละมังให้เข้ากัน
          3. เติมน้ำสะอาดลงในกะละมังให้พอท่วมตัวปลาแช่ทิ้งไว้ประมาณ 25 นาที  จากนั้นก็นำปลาไปตากบนตะแกรงที่มีแดดส่องถึง ระยะเวลาในการตากถ้าหากว่ามีแดดจัดๆก็ใช้เวลาประมาณครึ่งวันแต่ถ้าแดดไม่จัดมากก็ใช้เวลาประมาณหนึ่งวัน หรือจะใช้วิธีการสังเกตก็ได้โดยให้ดูที่ตัวปลาถ้าหากว่าตัวปลาแห้งและที่รอยผ้ามีมันวาวก็สามารถเก็บได้แล้ว


ภาพที่ 8 ปลาทูแดดเดียว
(ที่มา : http://www.holidaythai.com/mhoonoi/photo-7691.htm)


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิธีการจับปลาทู

ลักษณะของปลาทู