บทความ

ปลาทู

รูปภาพ
ภาพที่ 1 ปลาทู (ที่มา : https://tiewpakklang.com/ 6754 ) ความเป็นมาของปลาทู            ปลาทูเป็นปลาทะเล มีชื่อสามัญว่า Indo-Pacific Chub Mackerel มักจะอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ๆ น้ำทะเลลึกไม่เกิน 30 เมตร และมีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 17 องศาเซลเซียส จึงทำให้สามารถพบฝูงปลาทูได้ในเฉพาะบางที่ โดยในอ่าวพบเป็นแหล่งที่พบปลาทูมากที่สุด เพราะมีภูมิอากาศที่ดีพร้อมทั้งมีแหล่งอาหารที่สมบูรณ์ เหมาะแก่การอยู่อาศัยและวางไข่ของฝูงปลาทู ทำให้ปลาทูมีรสชาติอร่อยเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั้งภายในและภายนอก             จากการบันทึกของหมอบลัดเลย์   ที่แสดงว่า   คนไทยเริ่มรู้จักปลาทูตั้งแต่สมัยรัชกาลที่  5  เดิมชาวไทยใช้โป๊ะเป็นเครื่องมือจับปลา ปี  พ . ศ . 2468  ไทยนำเรืออวนตังเกจากจีนเข้ามาใช้แทนโป๊ะ   ซึ่งเป็นเครื่องมือประมงชนิดเคลื่อนที่   สามารถจับปลา   ได้มากกว่าโป๊ะ   ในขณะที่การบริโภคปลาทู   ยังอยู่ในวงจำกัด   ส่วนใหญ่เป็นคนพื้นบ้าน   แถบชายทะเล ดังนั้นจึงมีการแปรรูปปลาทูเป็นปลาทูเค็ม ส่งเป็นสินค้าออกต่างประเทศเพื่อนบ้าน   เช่น   อินโดนีเซีย   สิงคโปร์   ฮ่องกง   ฯลฯ   ทำรายได้ให้แ

สายพันธุ์ปลาทู

      ปลาทูเป็นปลาที่นักอนุกรมวิธาน (นักจัดระบบชั้นของสิ่งมีชีวิต) จัดให้อยู่ในวงศ์ Sombride สกุล Rastrelliger ปลาทูที่จับได้ในอ่าวไทย แบ่งเป็น 4 ชนิด 1. ปลาทูตัวสั้น           ชื่อสามัญ : Short-bodied mackerel           ชื่อวิทยาศาสตร์ : Restrelliger brachysoma 2. ปลาทู           ชื่อสามัญ : Indo-Pacific mackerel หรือ Indo-Pacific chub mackerel           ชื่อวิทยาศาสตร์ : Restrelliger neglectus Indo-Pacific-Mackerel 3. ปลาลัง           ชื่อสามัญ : Indian mackerel           ชื่อวิทยาศาสตร์ : Restrelliger kanagurtu Indian-Mackerel 4. ปลาทูปากจิ้งจก           ชื่อสามัญ : Faughn’s mackerel           ชื่อวิทยาศาสตร์ : Restrelliger faughni Faughn's –mackerel (โหระพา, 2551 )

ลักษณะของปลาทู

        ปลาทูมีลักษณะลำตัวที่เพรียวแบบกระสวย ลำตัวแบนข้าง ปกคลุมด้วยเกล็ดขนาดเล็กละเอียดจำนวนมาก เกล็ดบริเวณอกมีขนาดใหญ่กว่าบริเวณอื่น ปากมีขากรรไกรที่ประกอบด้วยฟันซี่ขนาดเล็กจำนวนมาก ซี่เหงือกมีลักษณะยาว เมื่อจับอ้าปากจะมองเห็นซี่เหงือกที่แผ่ออกคล้ายแผง  ขนนก ครีบประกอบด้วยครีบหลัง 2 อัน ครีบหลังอันแรกเป็นก้านแข็ง อันถัดมาเป็นก้านครีบอ่อนเหมือนครีบอื่นๆ ยกเว้นครีบท้องที่มีก้านครีบแข็ง 1 อัน โดยด้านหลังมีก้านครีบฝอย 5-6 อัน ครีบหลัง และครีบก้นจรดกันที่โคนหาง ส่วนครีบอกมีฐานครีบกว้างปลายครีบเรียว ชนิดของปลาทูสั้นและปลาทู มีนักวิทยาศาสตร์บางกลุ่ม รวมถึงชาวประมงในท้องถิ่นของทุกประเทศจัดให้เป็นปลาทูชนิดเดียวกัน ปลาลังมีความคล้ายกันกับปลาทูมาก จึงทำให้ในบางท้องที่ในภาคใต้ของไทยมีความเข้าใจว่าปลาทู และปลาลัง เป็นปลาชนิดเดียวกัน โดยเรียกรวมให้ชื่อว่า ปลาลัง แต่กรมประมงได้ศึกษา และจัดจำแนกความแตกต่างของปลาทู และปลาลังไว้ดังนี้           1. ปลาทูมีลำตัวกว้างมากกว่าปลาลัง            2. ความกว้างของลำตัวปลาทูมีความยาวใกล้เคียงกับความยาวของส่วนหัว ส่วนปลาลังมีความกว้างของลำตัวน้อยกว่าความย

แหล่งที่อยู่อาศัย

       แหล่งอาศัยของปลาทู ที่เป็นแหล่งประมงสำคัญในประเทศไทยซึ่งจะพบมากในอ่าวไทย และฝั่งทะเลอันดามันแถบอ่าวพังงา   แต่จะพบมากที่สุดในอ่าวไทย ซึ่งสามารถจับได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรี ที่เป็นแหล่งอาหารของปลาทูอย่างอุดมสมบูรณ์ ปลาทูเกิดและโตในอ่าวไทยมากยิ่งกว่าในทะเลแถบอื่น ปลาทูเป็นปลาขนาดกลางรูปเพรียว หัวแหลม ท้ายแหลม ตัวแบน ด้านหลังเป็น   สีเขียวปนฟ้ายาวตลอดตัวส่วนด้านใต้ท้องเป็นสีขาวเงิน ปลาทูว่ายน้ำได้รวดเร็วมาก และไม่เคยหยุดนิ่งกับที่เพราะต้องคอยหนีปลาใหญ่ที่ไล่ตามจับกินอยู่เสมอ ศัตรูของปลาทู ได้แก่ ปลาฉลามและปลาใหญ่อื่น ๆ ปลาทูอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ มีจำนวนหลายพันตัว หากินอยู่ใกล้ฝั่งน้ำ ใกล้ชายฝั่งในที่ซึ่งน้ำลึกไม่เกินกว่ายี่สิบฟุต กินแพลงตอนเป็นอาหารในเวลากลางคืนที่ทะเลเรียบ ปราศจากคลื่นลม อากาศดี ฝูงปลาทูจะขึ้นว่ายใกล้ผิวน้ำ ถ้าเป็นคืนเดือนมืดแสงเรืองจากตัวปลาส่องแสงเป็นประกายสีขาวทำให้มองเห็นฝูงปลาได้อย่างชัดเจน ชาวประมงอาศัยแสงเรืองจากตัวปลาทูเป็นที่หมายช่วยให้ติดตามจับปลาฝูงใหญ่ ๆ ได้ง่าย

การแพร่พันธุ์ปลาทู

       ปลาทูจะมีการวางไข่ปีละสองครั้งตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม และเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม แหล่งวางไข่แหล่งใหญ่ในอ่าวไทยสองแห่ง คือ ในน่านน้ำบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี กับที่แหลมแม่รำพึง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์   ปลาทูวางไข่ในทะเลค่อนข้างลึก เมื่อลูกปลาทูโตขึ้นจะเริ่มว่ายเข้าหาฝั่งแถบก้นอ่าวไทยและจะโตเต็มที่ในเวลาหกเดือนปลาทูเป็นปลาที่วางไข่ตลอดทั้งปี ทำให้ชาวประมงสามารถจับได้ตลอดทั้งปี ปลาทูสายแรกในแถบจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรี เรียกว่า ปลาทูสายตะวันตก ถือเป็นแหล่งประมงปลาทูสำคัญของประเทศ ส่วนอีกสายจะอยู่บริเวณภาคตะวันออกแถบจังหวัดตราด จันทบุรี ชลบุรี และฉะเชิงเทรา เรียกว่า สายตะวันออก โดยปลาทูจะมีการวางไข่มากในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม โดยปลาทูสายตะวันตกบริเวณ ปากอ่าวไทยจะว่ายน้ำลงไปวางไข่บริเวณนอกฝั่งแถบ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี และจะกลับขึ้นมามาหากินอีกครั้งบริเวณปากอ่าวไทยในเขตพื้นที่ดังกล่าว   ส่วนปลาทูสายตะวันออกจะว่ายน้ำไปวางๆไข่บริเวณเกาะช้างหรือเกาะกง ปลาทูขนาดเล็กที่ออกหาอาหารบริเวณใกล้ฝั่งจนตัวเต็มวัยถึงวัยผสมพันธุ์จะเดิน

วิธีการจับปลาทู

รูปภาพ
       การทำประมงปลาทู ชาวประมงจะมีหลีกเลี่ยงการจับในช่วงฤดูมรสุม ได้แก่ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันตกในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มีนาคม และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกในช่วงเดือนเมษายน-ตุลาคม ซึ่งชาวประมงจะออกจับในวันที่ไม่มีพายุ และฝนตกหนัก เครื่องมือประมงในการจับปลาทูที่มีการใช้ในอดีตจนถึงปัจจุบัน 1. โป๊ะ            เป็นเครื่องมือจับปลาทูแบบติดประจำที่ ประกอบจากไม้ไผ่หรือไม้เนื้อแข็งอื่นๆ โดยการปักเสาไม้เป็นรูปวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 50 เมตร แล้วล้อมด้วยเผือกให้แน่นหนา บริเวณปากโป๊ะจะทำการปักปีก หันหน้ารับกระแสน้ำ ปีกมีทั้งหมด 5 ปีก ปีกกลาง และปีกใหญ่เป็นปีกที่ยาวที่สุด บางโป๊ะอาจมีความยาวมากกว่า 500-1000 เมตร การจับด้วยโป๊ะจะทำในวันที่น้ำลง และน้ำขึ้นเต็มที่ โดยใช้อวนโป๊ะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว 30-300 เมตร ลึก 8-22 เมตร ที่มีทั้งตาห่าง และตาถี่ หลังจากนั้นจะใช้เรือแล่นเข้าในโป๊ะ แล้วสวมอวนด้านหนึ่งแล่นรอบโป๊ะ และไล่อวนเก็บเพื่อจับปลา ภาพที่ 2  โป๊ะจับปลา (ที่มา : http://oknation.nationtv.tv/blog/paper-life/ 2009/10/29/ entry- 1